CategoriesWindows Server

Server คืออะไร แตกต่างจาก Computer ทั่วไปยังไง ทำหน้าที่อะไรได้บ้าง

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า Server ผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะใครที่เล่นเกมออนไลน์เป็นประจำ น่าจะคุ้นเคยกันดีเวลาที่ไม่สามารถเข้าเกมได้เพราะว่าเซิร์ฟเวอร์มีการปิดปรับปรุง หรือไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มต้น สำหรับบาง Game จะมีให้เลือกว่าต้องการเล่นเซิร์ฟเวอร์ไหนด้วย ในส่วนขององค์กร ถ้ามีการต้องจัดการข้อมูล ก็มักจะมี Server Computer อย่างน้อยๆ 1 เครื่อง เป็นศูนย์กลางของบริษัท บทความนี้จะมาแจกแจงให้ทราบกันครับ ว่า Server คืออะไร และมีความพิเศษอย่างไรบ้าง

Server คืออะไร

นิยามของ Server นั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ Service ให้กับ Computer ตัวอื่นๆ และผู้ใช้งาน ในภาษาไทยนั้น คำว่าเซิร์ฟเวอร์แปลว่า คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ทำงานเพื่อ Support เครื่อง PC ตัวอื่นๆ ทั่วไปในระบบ เรียกว่าเครื่องลูก โดยคำที่นิยมใช้เรียกเครื่องลูก คือ เครื่อง Client นั่นเอง

Server คือ

ในกลุ่ม Data Center นั้น คอมพิวเตอร์ Hardware ที่มีโปรแกรมของ Server ทำงานอยู่ จะถูกเรียกรวมกันเลยว่า Server Computer ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง จะมีทั้งรูปแบบที่อุทิศตัวเครื่องทั้งหมดในการทำหน้าที่ทั้งหมด และรูปแบบที่ใช้งานทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์แค่บางส่วน คือ งานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

ในการทำงานร่วมกันของ Server และ Client นั้น ในสถานะปกติ โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ Standby รองรับคำสั่งจากเครื่อง Client ซึ่งอาจจะมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือคนละเครื่องก็เป็นได้ และโปรแกรมที่ใช้ในการเซอร์วิสของเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูก นั้น อาจจะมาจาก Software หรือ Application ตัวเดียวกันหรือคนละตัวก็เป็นไปได้เช่นกัน

มีวิธีการทำงานยังไง

คำว่า Server นั้น สามารถหมายความถึงอุปกรณ์ที่จับต้องได้, อุปกรณ์จำลอง หรือ Software ก็ได้ การทำงานของเซิร์ฟเวอร์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดและสถานะของมันด้วย ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

Physical Servers

Physical Server นั้น เรียกได้ง่ายๆ ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานประมวลผล Server Software นั่นเอง ข้อแตกต่างของเซิร์ฟเวอร์กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของ Physical Server ได้ตามลักษณะ Form Factor ของตัวเครื่อง ซึ่งคือรูปทรงและขนาดของมันนั่นเอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ดังนี้

Server คือ

Tower Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบฟอร์มทาวเวอร์นั้น มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง วางเดี่ยวๆ แบบ Standalone ซึ่งก็มีรูปทรงเหมือน Desktop Computer ทั่วไปนี่เอง ต่างกันที่ Server ทรงนี้จะมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า เนื่องจากมีการออกแบบมาให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกอบกันไม่หนาแน่นจนเกินไป

Form Factor รูปทรงนี้ยังถือว่ามีราคาที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น จังเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงกลาง (SMB) ที่มีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของมันก็มี คือกินพื้นที่เยอะเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นๆ

> เลือกซื้อ Tower Servers กับเรา

Server คือ

Rack Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบ Rack นั้น ออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ในห้อง Data Center มักทำหน้าที่จัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล รองรับปริมาณงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบ Tower ออกแบบมาเป็นรูปทรงแนวนอนมาตรฐาน เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์, UPS หรือ Switch จากแบรนด์ที่แตกต่างกัน สามารถวางติดตั้งทับซ้อนกันในตู้ Cabinet ได้

ฟอร์มแบบ Rack นี้จะใช้หน่วยเรียกขนาดว่า U ซึ่งวัดจากความสูงของตัวเครื่องเท่านั้น (1U = ความสูงประมาณ 4.4 cm) สายไฟที่ใช้เสียบมักถูกจัดการอย่างเรียบง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและถอดออกเพื่อซ่อมบำรุง

> เลือกซื้อ Rack Servers กับเรา

ราคาถูก จำหน่าย ขาย

Blade Servers – เบลดเซิร์ฟเวอร์คือ Device ขนาดกะทัดรัด ที่มีลักษณะเป็นกล่อง Composable ภายในเป็นตัว Blade Server ขนาดเล็กติดตั้งอยู่รวมกันหลายๆ ตัว แต่ละตัวมีระบบระบายอากาศ Cooling System ของตนเอง ทุกตัวมักอุทิศตนทำงานให้ Application อย่างเดียวร่วมกัน

เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า Form Factor แบบอื่น จึงมาพร้อมกับราคาที่สูงกว่า อีกหนึ่งข้อดีคือง่ายต่อการซ่อมแซม เพราะสามารถถอดเปลี่ยน Blade แต่ละอันได้เลย นิยมใช้ในองค์กรระดับ Enterprise

การใช้งาน

Mainframes – เมื่อช่วงยุค 1990 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น ถูกคาดการณ์ว่าจะทำหน้าที่เป็น Server ในอนาคต แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาที่สูง และโครงสร้างที่ใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ ทำให้รูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Tower, Rack และ Blade เป็นที่นิยมมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขององค์กรระดับ Enterprise บางที่ยังคงนิยมใช้เมนเฟรมเป็นเซิฟเวอร์อยู่ อาทิเช่น บริษัทการเงินที่ต้องมีการคำนวนมากๆ หรือ ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มี Tracsaction ตลอดเวลา เป็นต้น

Virtual Servers

Server แบบ Virtual นั้น คือการจำลองระบบขึ้นมาให้ทำหน้าที่เสมือน Physical Server ซึ่งก็ต้องมีระบบปฏิบัติการและ Application เป็นของตนเองเช่นกัน การสร้าง Virtual Machines นั้น ต้องมีการติดตั้ง Software กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Hypervisor (หรือ VMware) ลงบท Physical Server ซึ่งเจ้า Hypervisor นี้จะทำหน้าที่ช่วยให้ Physical Server สามารถทำหน้าที่เป็น Host ที่จำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงขึ้นมาอีกตัว

HPE Dell Lenovo

เจ้าเซิร์ฟเวอร์จำลองที่สร้างมานี้ จะมีองค์ประกอบเหมือนกับ Server จริงๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Storage หรือ Network เป็นต้น ซึ่งจำนวนที่จำลองได้ ทำได้อย่างไม่มีจำกัด แต่ก็จะกินทรัพยาการเครื่อง Host ไปตามสัดส่วนที่แบ่งออกมา

เราสามารถใช้ Console ในการช่วยจัดสรรแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไปยัง Virtual Server แต่ละตัวตามความต้องการของสเปคที่ใช้ได้ วิธีนี้ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วน Hardware อย่างสูง เพราะ Physical Server เพียงตัวเดียว ก็สามารถสร้าง Virtual Servers ขึ้นมาหลายๆ ตัว ช่วยกันทำงานต่างๆ มากมายหลายๆ ประเภท แล้วแต่ที่เครื่อง Host ออกคำสั่งเลยครับ

การทำ VMware ถือว่าเป็นการส่งเสริม เพิ่มค่า High Availability ด้วย โดยจะส่งเสริมให้ระบบโครงสร้างไอทีขององค์กรมีความเสถียรมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าใช้ระบบโครงสร้างแบบ Storage เดียวกัน

> อ่านบทความ High Availability คืออะไร

Server Software

เซิร์ฟเวอร์นั้น ต้องการองค์ประกอบที่เป็น Software ขั้นต่ำ 2 ส่วน ได้แก่ ระบบประมวลผล (Operating System หรือ OS) และแอพพลิเคชั่น (Application) ตัว OS นั้นจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับดำเนินการทำงาน Application ต่างๆ โดยช่วยให้เข้าถึงทรัพยากร Hardware พร้อมช่วยรองรับความต้องการต่างๆ ที่แอพพลิเคชั่นต้องการ

เจ้า Operating System ยังทำหน้าที่จดจำและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเครื่อง Client และ Server Application ยกตัวอย่างเช่น การกำหนด IP Address หรือ ชื่อโดเมน ต่างก็ถูกประมวลผลและกำหนดตั้งแต่ระดับ OS

ต่างกับ Computer ทั่วไปยังไง

Desktop Computer และ Server นั้น มีทั้งสิ่งที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกัน โดยเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบประมวลผลแบบ X86X64 CPUs และสามารถทำงานในรูปแบบ Code เดียวกันกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้ X86/X64 ได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ Physical Server ส่วนใหญ่จะรองรับการติดตั้ง CPU หลายๆ Socket และรองรับปริมาณการใส่ Ram ได้จำนวนมากกว่าเยอะเลยครับ

อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของเซิฟเวอร์คือตัวเครื่องจะมีความแข็งแรงทนทานกว่า PC ทั่วไป มีการออกแบบมาให้สามารถระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถเปิดใช้งานได้ 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกันหลายๆ วัน หรือเป็นเดือนเป็นปีเลยทีเดียวครับ

การทำ Redundant

เพราะ Server Hardware นั้นมักใช้ทำงานกับข้อมูลที่มีความสำคัญสูงจำนวนมากๆ เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบมาให้รองรับการทำ Redundant (สำรองอุปกรณ์) ทั้งตัวมันเอง และชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ภายในตัวเครื่อง

ตัวเครื่องอาจจะประกอบด้วย Redundant Power Supply, Harddisk (RAID) และ Network Interfaces ซึ่งระบบการรีดันแดนท์นี้ช่วยให้ Server ยังสามารถทำงานต่อไปได้แม้ชิ้นส่วนหลักเกิดความเสียหายขึ้นมา

> อ่านบทความ Redundant Server คืออะไร
> อ่านบทความ RAID คืออะไร

IP

Form Factor

นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อแตกต่างของ Server กับ Desktop Computer คือ Form Factor โดยปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมักจะออกแบบมาในรูปทรง Mini Tower หรือ Small Form ซึ่งออกแบบมาให้ติดตั้งกับโต๊ะทำงานได้อย่างสะดวก ประหยัดเนื้อที่ ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์นั้น แม้จะมีบางรุ่นที่ออกแบบมาในรูปทรง Tower คล้ายๆ คอมพิวเตอร์เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีดีไซน์เป็นรูปแบบ Rack Mounted เสียมากกว่า ระบบ Rack นั้นจะมีมาตรฐานขนาดที่ตายตัว แตกต่างกันเพียงแต่ความสูง ซึ่งใช้หน่วยเป็น 1U, 2U หรือ 4U เป็นต้น

Operating System

อีกหนึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญของเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือระบบปฏิบัติการ นั่นเอง โดย OS ของ Desktop Computer นั้น สามารถรองรับฟีเจอร์การทำงานของ Server ได้แค่บางฟังก์ชั่นเท่านั้น แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้ Support ทุกๆ การใช้งานครับ ยกตัวอย่างเช่น Windows 10 Pro ทั่วไป ก็มีฟีเจอร์ Hyper-V ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการสร้าง Virtual Machine ของ Microsoft ให้ใช้งานเหมือนกัน แต่ Hypervisor ของ Windows 10 Pro จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์บางส่วนของ Virtual Servers ได้เหมือน Windows Server

Client

ถึงแม้ว่าองค์กรทั่วไปจะสามารถทำ Virtual Server ผ่าน Hyper-V ของ Windows 10 Pro แต่จะมีปัญหาเรื่อง License เมื่อ Microsoft ตรวจสอบเจอ

นอกจากนี้ Hyper-V ของ Windows Server ยังมีฟีเจอร์ที่ครบถ้วนกว่าของ Window 10 Pro อาทิเช่น รองรับการล้มเหลวของ Clustering, การทำ Virtual Machine Replication และ Feature Virtual Fibre Channel เป็นต้น

Windows 10 ทั่วไปนั้น สามารถสร้างไฟล์ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่ายได้เหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำการแชร์ไฟล์แบบสเกลใหญ่ได้ ในขณะที่ Windows Server สามารถปรับแต่งให้ทำหน้าที่เป็น File Sever ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในองค์กรระดับ Enterprise ขนาดใหญ่ การบริหารระบบไฟล์ข้อมูลสามารถจัดการได้ผ่าน Server Farm เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความเสถียรให้กับระบบ แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว

> อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OS Server ได้ที่นี่

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *