CategoriesMicrosoft Office Suite

รายละเอียดทางเทคนิคของ Office 2019 (สำหรับ IT Professional)

Office 2019 จัดอยู่ในกลุ่ม Productivity Software ประเภทซื้อขาด โดยสามารถสั่งซื้อได้จาก Microsoft Store หรือร้านค้าตามห้าง และ/หรือผ่านโปรแกรม Volume Licensing

ข้อสำคัญ

Office 2019 เป็นผลิตภัณฑ์ที่แยกส่วนจาก Office 365 ในทุก plan ตัวอย่างเช่น หากคุณติดตั้ง Office 365 ProPlus ให้กับ users ในองค์กรไปแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องสั่งซื้อและติดตั้ง 2019 ทับลงไป เพราะทุกฟีเจอร์ใน Office 365 ProPlus นั้นมีครบตามที่มีใน 2019 อยู่แล้ว

 

Edition ต่างๆ ของ Office 2019 ที่จำหน่ายทาง Volume License นั้นเหมาะสำหรับองค์กรและมีความสะดวกในส่วนของ Admin ที่ต้องการดาวน์โหลดหรือติดตั้งให้กับ Users ในองค์กร ซึ่งจะมีวางจำหน่ายใน Edition ต่อไปนี้

  • Office Professional Plus 2019
  • Office Standard 2019
  • Project Professional 2019
  • Project Standard 2019
  • Visio Professional 2019
  • Visio Standard 2019

ทุก Edition ของ Office 2019 เป็นไฟล์การติดตั้งแบบ Click-to-Run ที่จากเดิมเป็น Windows Installer (MSI) แต่การ Activate นั้นยังคงใช้เทคโนโลยีแบบ Key Management Service (KMS) เหมือนเดิม

ลูกค้าสามารถสั่งซื้อ Office 2019 for Macผ่านทาง Volume Licensing ได้ สามารถดูข้อมูลได้จาก Deployment guide for Office for Mac

 

สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใน Office 2019
สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปจาก Office 2016 ที่สำคัญที่สุดคือ การเปลี่ยน Installation File จาก MSI เป็น Click-to-Run ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ในหลายส่วน แต่อย่างไรก็ดีลูกค้าสามารถขอ Link เพื่อดาวน์โหลดโปรแกรมแปลงไฟล์ได้จาก Distributor ที่จำหน่าย Office 2019

นอกเหนือจาก Click-to-Run แล้ว ยังมีประเด็นการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ที่ควรพิจารณาดังนี้:

  • Office 2019 ต้องติดตั้งบน Windows 10 เท่านั้น ไม่สามารถติดตั้งบน Windows 7 or Windows 8.1 ได้ แต่ในส่วนของ Office 365 Business / Business Premium และ Office 365 ProPlus / E3/E5 นั้นยังสามารถดาวน์โหลดไปติดตั้งบน Windows เวอร์ชั่นเก่าได้อยู่ (ความต้องการของระบบ Office 365)

  • ในการติดตั้งนั้น จากที่เคยใช้ Office Customization Tool กับไฟล์การติดตั้ง Windows Installer (MSI) จะไม่มีแล้ว แต่ต้องใช้ Office Deployment Tool ที่ดาวน์โหลดได้ฟรีจาก Microsoft Download Center
  • แทนที่จะดาวน์โหลดผลิตภัณฑ์จาก Volume Licensing Service Center (VLSC) คุณสามารถใช้ Office Deployment Tool เพื่อดาวน์โหลด installation files ได้โดยตรงจาก Office Content Delivery Network (CDN) ผ่านอินเทอร์เน็ตได้
  • เมื่อติดตั้ง Office Professional Plus 2019 แล้ว ทุกแอพพลิเคชั่นจะถูกติดตั้งโดยอัตโนมัติ แต่สามารถ config  Office Deployment Tool เพื่อแยกบางแอพออกจากการติดตั้งได้
  • Office 2019 ต้องติดตั้งบน ซึ่งปกติเป็น C:\ drive และ installation location ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
  • การอัพเดท Office 2019 เช่น security updates และ bug fixes สามารถ config ให้ดาวน์โหลดอัพเดทอัตโนมัติจาก CDN จะไม่มีการเฉพาะแต่ละ Security Updates หรือแต่ละ Bug Fix ได้

 

สิ่งที่ยังเหมือนเดิมใน Office 2019
คุณยังคงใช้ System Center Configuration Manager ในการจัดการการติดตั้งได้ ส่วนการ Activate ยังคงใช้ Key Management Service (KMS) เหมือนเดิม

หมายเลข build หลักของ Office 2019 ยังเป็น 16.0 และส่วนอื่นๆ ยังคงเหมือนเดิมสำหรับผู้ที่อัพเกรดจาก Office 2016 ได้แก่:

  • Existing Group Policy settings ยังคงเหมือนเดิม เนื่องจาก registry location สำหรับค่า settings ยังคงเก็บอยู่ใน HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Policies\Microsoft\Office\16.0 และ HKEY_CURRENT_USER\SOFTWARE\Policies\Microsoft\Office\16.0
  • ส่วน registry locations และ settings information อื่นๆ เกี่ยวกับ 16.0 ยังคงเหมือนเดิม
  • Add-ins และ extensibility solutions อื่นๆ ที่เคยใช้งานกับ Office 2016 ส่วนใหญ่ยังทำงานบน Office 2019 ได้ หรืออาจจะต้องทดสอบความเข้ากันได้ใหม่ นิดหน่อย

ฟีเจอร์ใหม่ของ Office 2019
ฟีเจอร์ใหม่ของ Office 2019 สามารถดูได้จาก What’s new in 2019? ที่ระบุฟีเจอร์ใหม่ในทุกแอพใน Office 2019

สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของแต่ละแอพ Access, Excel, Outlook, PowerPoint, Project, Visio และ Word สามารถดูได้จาก link ต่อไปนี้

    Word-icon.png         Excel_15.png         PowerPoint_15.png         512.png

              Access-icon.png         Project-icon.png         Visio-icon.png         Publisher-icon.png

Office 2019 จะมีรอบฟีเจอร์อัพเดทที่นาน (จนกว่าจะขึ้น version ใหม่ในครั้งหน้า) หากคุณต้องการรับฟีเจอร์อัพเดทอย่างต่อเนื่อง  แนะนำว่าควรใช้ Office 365 plans ซึ่งมีสิทธิ์ให้ดาวน์โหลดโปรแกรมเหมือน Office 2019 แต่มีฟีเจอร์ที่อัพเดทใหม่ตลอดเวลา โดยสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่เกินกว่า 300 users สามารถดูรายการทางเลือกได้จากที่นี่

 

จะอัพเกรดเป็น Office 2019 ได้อย่างไร
แนะนำให้คุณ uninstall โปรแกรม Office รุ่นเดิมออกก่อนจะติดตั้ง Office 2019 หากคุณถอนการติดตั้ง Office รุ่นเดิมที่เคยติดตั้งด้วย Windows Installer (MSI) แล้ว โปรแกรม Office Deployment Tool จะช่วยถอนการติดตั้งเดิมให้ในช่วงของการติดตั้ง 2019 ไปในตัว ข้อมูลเพิ่มเติมคลิกที่นี่

 

ข้อมูลเพิ่มเติม

CategoriesMicrosoft Office Suite

Windows 10 FPP vs. OEM ต่างกันอย่างไร – แล้วคีย์หลัก 100 ใช่ของแท้หรือเปล่านะ ??

พอดีเมื่อเช้ามีคนสอบถามเข้ามาในเพจเกี่ยวกับ Windows 10 ที่วางขายตามร้านค้า ที่มักจะมีอยู่ 2 ช่วงราคา คือ ราคาประมาณ 4,000 บาท และราคา 6,000-7,000 บาท (สำหรับ Windows 10 Pro) แล้วสินค้าสองอย่างนี้มันต่างกันอย่างไร ผมจะพาเพื่อน ๆ ไปหาคำตอบกันครับ

ง่ายที่สุดเลยคือดูจากชื่อของมันก่อน อย่างสองภาพทางด้านล่าง ผมแคปมาจากหน้าเว็บ Advice จะเห็นว่า Windows 10 Pro ทั้งสองชิ้นนี้จะต่างกันตรงวงเล็บท้ายชื่อ FPP จะมีราคา 6,450 บาท ส่วน OEM จะมีราคา 4,580 บาท แล้ว OEM กับ FPP ต่างกันอย่างไร ไปดูคำตอบจาก Microsoft กันครับ

FFP (Full Package Product) เป็นรูปแบบลิขสิทธิ์หนึ่งของ Windows หรือเรียกอีกอย่างว่า Windows Retail จะสามารถลงในเครื่องเดียวได้เลย ไม่จำกัดครั้ง แปลว่าคุณจะลง Windows ใหม่กับเครื่องคอมเดิมของคุณด้วยคีย์ FPP กี่ครั้งก็ได้ไม่ว่ากัน

แต่ในกรณีที่ต้องการย้ายไปใช้ในคอมเครื่องใหม่ ลิขสิทธิ์แบบ FPP จะอนุญาตให้คุณถอนคีย์ออกจากคอมเครื่องเดิม แล้วย้ายไปคอมใหม่ได้ ทั้งนี้ ผมหาข้อมูลจาก ลิ้งก์นี้ ทาง Microsoft ได้เสนอแนะว่า

แต่ทางเราไม่แนะนำให้ย้ายบ่อยเกินไป เพราะระบบอาจจะบล็อกคีย์ของคุณได้ หากคีย์ถูกบล็อก จะไม่มีวิธีไหนที่จะสามารถปลดบล็อกได้ นอกจาก ซื้อคีย์ใหม่เท่านั้นค่ะ ทั้งนี้ ทางเราไม่สามารถระบุจำนวนครั้งที่แน่นอนได้ว่า กี่ครั้ง แต่ไม่แนะนำให้ย้ายเกิน 5 ครั้งต่อปีค่ะ

ก็ตามนั้นเลยครับ สรุปคือคีย์ FPP จะยืดหยุ่นกว่า เพราะย้ายเครื่องได้ แต่ต้องถอนคีย์จากเครื่องเก่าก่อน และไม่ควรย้ายบ่อยเกินไป

 

OEM (Original Equipment Manufacturer) หรือที่เรียกกันติดปากว่า คีย์โรงงาน ลิขสิทธิ์แบบนี้จะพบได้ตามโน้ตบุ๊ก, คอม All-in-one และคอมเซตจากแบรนด์ต่าง ๆ ซึ่งจะทำการติดตั้ง Windows 10 OEM มาให้เลย ข้อดีสำหรับผู้ที่ซื้อคีย์จากร้านค้าคือราคาถูก แล้วข้อด้อยล่ะ?

คีย์ OEM นั้น จะล็อกตามเมนบอร์ดของคอมเครื่องที่ติดตั้งไปในทันที นั่นหมายความว่าผู้ใช้จะถอนคีย์ออกไม่ได้ และไม่สามารถย้ายไปติดตั้งในคอมเครื่องอื่นได้ ทั้งนี้ผมมีข้อความเพิ่มเติมจาก Microsoft ใน ลิ้งก์นี้ มาฝากครับ

ในกรณีของ OEM Licenses ที่เพิ่งมีการเปิดใช้งานต่ำกว่า 90 วัน (นับจากวันที่ Activate Windows เป็นวันแรก จะไม่ได้นับจากวันที่ซื้อ Licenses) จะยังสามารถทำการเปลี่ยน Motherboard และ ย้ายเครื่องได้อยู่ครับ

และหลังจากย้ายเครื่องนั้นให้ทำการ Re-Activate ที่เครื่องใหม่ได้เลยผ่านทาง Microsoft Activation ทีม (ผ่านทางโทรศัพท์เท่านั้น) โดยให้แจ้งกับทางเจ้าหน้าที่ว่า Windows OEM ของคุณนั้นเพิ่งมีการเปิดใช้งานมาต่ำกว่า 90 วันครับ

หมายเหตุ: Windows ที่จะย้ายไปเครื่องใหม่นั้นจะต้องเป็น Window license ของคุณต้องต้องอยู่ในสถานะที่ปกติครับหรือ Valid Product Key ครับ

 

และยังมีข้อมูลเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยจาก ลิ้งก์นี้

หากในอนาคต Mainboard เกิดเสียขึ้นมา เมื่อช่วงระยะเวลาการรับประกันได้หมดลง คุณจะไม่สามารถ นำ product key ของ Windows 10 เเบบ OEM ที่ไม่สามารถย้าย License ไปติดตั้งบน Mainboard ตัวอื่นได้ เเต่ถ้าหาก Mainboard ยังอยู่ในช่วงระยะเวลาการรับประกัน เเล้วเสีย โปรดติดต่อผ่านทางร้านค้าตัวเเทนจำหน่าย หรือ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ Mainboard  ดังกล่าว เพื่อขอคำปรึกษาเเละช่วยเหลือในการ activate ผลิตภัณฑ์ product key ของ Windows 10 เเบบ OEM ดังกล่าวนะครับ

เพราะฉะนั้น ผมขอสรุปว่า คีย์ OEM จะล็อกเมนบอร์ด ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ หากเมนบอร์ดนั้นไม่ย้ายไปด้วย (แต่ยังสามารถอัปเกรดอุปกรณ์อื่นได้หมด) แต่ในกรณีที่คุณ Activate คีย์ OEM ไปไม่เกิน 90 วัน จะยังพอเปลี่ยนเมนบอร์ดและทำเรื่องขอย้ายคีย์ได้ หรือในกรณีที่เมนบอร์ดเสีย และอยู่ในระยะประกัน ยังสามารถติดต่อไปที่ผู้ผลิตเมนบอร์ด เพื่อขอคำแนะนำในการย้ายคีย์ครับ

อย่างไรก็ตาม ** ข้อมูลทั้งหมดนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับทาง Microsoft เลยนะครับ

 

คีย์ Windows 10 หลักร้อย ใช่ของแท้หรือไม่?

และมาถึงคำถามยอดฮิต คีย์ Windows 10 ที่ขายตามเพจหรือร้านออนไลน์ทั่วไปในราคาหลักร้อย ใช่คีย์แท้หรือไม่? เรามาดูคำตอบเรื่องคีย์แท้กันก่อน ถ้าคีย์นั้นใช้ Activate ได้ โอเคครับ มันคือคีย์แท้ !! (มันก็คือคีย์ที่ใช้ Activate ได้นั่นแหละ จะไม่ใช่ของแท้ได้ไง ของปลอมก็ต้องใช้ไม่ได้สิถูกปะ)

อ้าว…แล้วทำไมถึงไม่แนะนำให้ใช้กันล่ะ? ก็เพราะว่ามันอาจจะได้มาไม่ถูกต้องยังไงล่ะ คือคีย์เหล่านี้อาจนำมาใช้แบบไม่ถูกจุดประสงค์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่อาจเป็นคีย์จากองค์กร บริษัท หรือมหาลัย ที่เขาไปซื้อชุดคีย์จำนวนหนึ่งมาให้นักเรียน-นักศึกษา และพนักงานใช้กันภายใน แต่ดันมีคนลักลอบนำคีย์เหล่านี้ออกมาขาย วันดีคืนดีถ้าคีย์เหล่านี้ถูกยกเลิกไป Windows ที่คุณใช้ ก็จะกลับมาอยู่ในสถานะที่ไม่ได้ Activate อีกครั้ง…ใช่แล้วครับ เสียเงินฟรี ผมเห็นบางคนซื้อมาได้ 2 วัน แล้วขึ้นเตือนว่าคีย์กำลังจะหมดอายุก็มีนะครับ

เพราะฉะนั้น ผมอยากให้อุดหนุนคีย์แท้ที่ถูกต้องตามจุดประสงค์ดีกว่า อย่างน้อยคุณจะรู้สึกภูมิใจที่ได้ใช้ของถูกลิขสิทธิ์ ไม่ต้องมาปวดหัวในภายหลังด้วย

CategoriesCloudlinux Directadmin

How to install CloudLinux on DirectAdmin

CloudLinux is now available on DirectAdmin.

Before you begin, however, there are a few things to do first.

– Please note this tutorial is based on a fresh installation – if you are upgrading an existing installation, please backup the databases before continuing! –

In case you’re missing some, make sure to enter the pre-requirements provided below into the command terminal to make the process go much smoother.

yum install wget gcc gcc-c++ flex bison make bind bind-libs bind-utils openssl openssl-devel perl quota libaio libcom_err-devel libcurl-devel gd zlib-devel zip unzip libcap-devel cronies bzip2 cyrus-sasl-devel perl-ExtUtils-Embed autoconf automaker libtool which patch mail bzip2-devel lost psmisc net-tools systemd-devel libdb-devel perl-DBI xfsprogs -y

If you haven’t installed DirectAdmin yet, run the following command:

wget http://www.directadmin.com/setup.sh;chmod 755 setup.sh;./setup.sh

Enable the ports in the firewall:

firewall-cmd --zone=public --add-port=80/tcp --permanent
firewall-cmd --zone=public --add-port=2222/tcp --permanent
firewall-cmd --reload

Now you can finally install CloudLinux:

Download the installer:

wget https://repo.cloudlinux.com/cloudlinux/sources/cln/cldeploy

Activate your CloudLinux license or search through our store for the one you need (We issue licenses via IP):

sh cldeploy -i

Then reboot:

reboot

Now you need to install CloudLinux CageFS. CageFS offers complete separation from anyone else on your server, keeping you secure and with minimal service interruptions, regardless of the strain on resources.

yum install cagefs -y
/usr/sbin/cagefsctl --init

Next, you need to install their Alt-PHP (the CloudLinux PHP Selector):

yum groupinstall alt-php -y

DirectAdmin comes with MariaDB already installed by default. If you wish to install the MySQL Governor or check your version of MariaDB, enter the following commands.

mysql -V
yum install governor-mysql -y
/usr/share/lve/dbgovernor/db-select-mysql --mysql-version=mariadb55
/usr/share/lve/dbgovernor/mysqlgovernor.py --install

If you upgraded MariaDB using the CustomBuild 2.0 you will need to change 55 to one of the following:

100 for MariaDB v10.0
101 for MariaDB v10.1

If you still have questions or concerns about the CloudLinux installation, feel free to contact us by opening a support ticket or by using our live chat feature.

CategoriesCloudlinux Directadmin Linux Server

Converting CentOS server with DirectAdmin

CloudLinux OS Shared is simple to install. Here, you will learn how to convert a DirectAdmin based server from CentOS to CloudLinux OS Shared.

First, you will need a software activation key or an IP-based license. The 30-day trial key can be obtained for free by requesting it from the CLN portal via our website (note that CLN requires registration). If you have a paid license key, it can be found in CLN, or in your welcome email. For more information, refer to our “licensing” article.

To install, open an SSH connection to your server using your preferred SSH console application.

Here is the syntax we are using to execute the conversion process:

$ wget https://repo.cloudlinux.com/cloudlinux/sources/cln/cldeploy$ sh cldeploy -k <activation_key> # if you have activation keyor $ sh cldeploy -i # if you have IP based license $ reboot

 

CloudLinux OS Shared install script is smart – it detects the environment, type of virtualization, control panel, specific hardware which might require additional drivers installation and more.

Once the installation is completed, the server needs to be rebooted. It is required in order to boot the server with our kernel, which is specifically crafted for the LVE support and limits operation.

To make sure that our server is running the correct kernel, we can access the server via SSH again and execute the “uname -a” command.

CloudLinux kernel contains “lve” in its name – when you see this, you’ll know that the server is running using the correct kernel.

Now let’s check the DirectAdmin interface. CloudLinux LVE Manager plugin has been installed during the conversion process. For more details regarding LVE Manager features and usage, please refer to this video.

You are all set – the CentOS server with DirectAdmin has been successfully converted to CloudLinux OS Shared.

CategoriesLinux Server

Hosting Performance By CloudLinux

CloudLinux OS เป็น Linux Distribution ที่มุ่งเน้นไปที่กลุ่มผู้ให้บริการ Shared Hosting​ เป็นหลัก ถูกพัฒนาโดยบริษัท CloudLinux, Inc.ตัว CloudLinux นั้นถูกพัฒนาขึ้นจากพื้นฐาน​ของ CentOS โดยใช้ OpenVZ kernel และ RPM Package Manager มีการ CloudLinux พบครั้งแรกในปี 2009 โดย Igor Seletskiy และได้ทำการออกตัว Initial Release ครั้งแรกเมื่อ มกราคม 2010 ​

 

blobid0.jpg

โดยนับตั้งแต่ CloudLinux เปิดตัวสู่ตลาดในปี 2010 เรื่อยมานั้น ปัจจุบันมีกลุ่มผู้ให้บริการ Shared Hosting ที่ใส่ใจเรื่องความมั่นคงความปลอดภัยมากกว่า 2,000 บริษัท คิดเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์มากกว่า 20,000 เครื่อง ที่เลือกใช้ CloudLinux เพราะมันได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมที่สุดสำหรับ Shared Hosting โดยแยกลูกค้าแต่ละรายด้วย Technology ที่ชื่อ “Lightweight Virtualized Environment” (LVE) โดยที่ LVE แต่ละตัวได้รับการจัดสรรทรัพยากรจำนวนหนึ่งตามที่กำหนด​

เราสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้ตามนี้

​1. Make Your Server Stable​  Stability คือกุญแจสู่ความสำเร็จในการทำ Shared Hosting เพราะเซิร์ฟเวอร์ที่เสถียรทำให้ทั้งคุณและลูกค้ามี​ความสุข ไม่มีปัญหาการใช้งานที่ผิดปกติและยังช่วยให้คุณเพิ่มจำนวนลูกค้าและขยายผลกำไรของคุณ ความเสถียรของ CloudLinux จะช่วยปกป้องเซิร์ฟเวอร์จากปัญหา Performance Spikes และป้องกันการทำงานที่ช้าลงจนถึงระดับหยุดทำงาน โดยการจำกัด และแบ่งทรัพยากรต่อ User ซึ่งช่วยลดการใช้งานทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์ที่ผิดปกติ และ ยังควบคุมตนทุนในการให้บริการอย่างคุ้มค่า​
Lightweight Virtualized Environment เป็นเทคโนโลยีระดับ Kernel ที่แยกผู้เช่าแต่ละรายออกเป็นสภาพแวดล้อมของตนเองและจัดหาทรัพยากรจำนวน (CPU, IO, Memory,Number of Process ฯลฯ ) ที่สามารถใช้งานได้ – เฉพาะสำหรับลูกค้าแต่ละราย . หากผู้เช่าถึงขีดจำกัด ผู้ใช้รายอื่นจะไม่สังเกตเห็นอะไรเลยเนื่องจากผู้กระทำผิดถูกควบคุมปริมาณทันที สิ่งนี้จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรทรัพยากรเซิร์ฟเวอร์เกิน Resource

blobid2.png

2. Make Your Server Secure​ ด้วยเหตุบริการ Shared Hosting ที่มีระบบเซิร์ฟเวอร์ที่เป็น Linux Based นั้นเมื่อมี User จำนวนมากอยู่บนระบบหากมีผู้ใช้บริการรายใดรายนึงมีช่องโหว่ใน Coding ของตนเองจนส่งผลให้ถูก Hack เข้ามาในระบบ สิ่งนี้ย่อมมีโอกาสสร้างปัญหาให้ผู้ให้บริการ Shared Hosting ได้ เพราะโดยดั้งเดิมของระบบมันยังมีช่องให้เหล่าผู้ไม่ประสงดีเหล่านี้เชื่อมโยงแพร่กระจายปัญหาไปยัง User รายอื่นๆบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ได้ ​CloudLinux สามารถจัดการปัญหานี้ได้ ด้วยเทคโนโลยีของ CageFS และ SecureLinks ทำให้ User จะได้รับการจำลองเสมือนในระบบไฟล์ของตัวเองป้องกันไม่ให้ User แต่ละคนเห็นผู้ใช้รายอื่นบนเซิร์ฟเวอร์ได้

 

blobid3.png      blobid4.jpg       blobid5.jpg

 

3. Make Your Server Profitable​ ความเสถียรในระดับสูงซึ่ง CloudLinux มีนั้นทำให้เซิร์ฟเวอร์ทุกเครื่องมีประสิทธิภาพมากขึ้นและช่วยให้สามารถเพิ่มจำนวนลูกค้าบนเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่องได้โดยคุ้มค่ากับทรัพยากรที่มี สิ่งนี้จะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงการใช้ประโยชน์จากเซิร์ฟเวอร์ของคุณได้อย่างมาก อีกทั้งตัวระบบเซิร์ฟเวอร์ที่มีความปลอดภัยสูงก็จะช่วยให้ลูกค้าของคุณมีความมั่นใจและอยากใช้บริการที่ปลอดภัยด้วย​
สิ่งนี้สามารถทำได้ด้วยการตั้งค่าขีดจำกัดของทรัพยากรสำหรับลูกค้าแต่ละราย ทำให้เมื่อผู้ใช้ถึงขีด จำกัด คุณสามารถเพิ่มยอดขายให้สูงขึ้นหรือวางแผนได้ดีขึ้นโดยไม่ย้ายไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น นอกจากนี้ด้วยการสร้างแพ็คเกจโฮสติ้งตามการใช้ทรัพยากรและคุณสมบัติความยืดหยุ่นเช่นการสนับสนุนเวอร์ชัน PHP ต่างๆคุณสามารถเปลี่ยนนโยบายการกำหนดราคาของคุณได้อย่างสมบูรณ์

blobid6.png            blobid7.jpg            blobid8.jpg                                                              blobid9.jpg

4. Make Your Server High-Performing​  ระบบ CloudLinux เสนอชุดของคุณสมบัติที่มีประสิทธิภาพที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเซิร์ฟเวอร์ของคุณอย่างมาก ตัวอย่างเช่น mod_lsapi เร็วกว่าวิธีอื่น ๆ ในการให้บริการ PHP กับ Apache

blobid10.jpg                             blobid11.jpg

 

5. Highly Compatible    ระบบ  CloudLinux สามารถทำงานได้ร่วมกันกับ Control Panels ที่เด่นๆ ในปัจจุบันได้โดยที่ Panels เหล่านั้น Based on CentOS และ RHEL

                    blobid12.jpg

 

CategoriesWindows Server

Server คืออะไร แตกต่างจาก Computer ทั่วไปยังไง ทำหน้าที่อะไรได้บ้าง

หลายๆ ท่านคงเคยได้ยินคำว่า Server ผ่านหูกันมาบ้างไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะใครที่เล่นเกมออนไลน์เป็นประจำ น่าจะคุ้นเคยกันดีเวลาที่ไม่สามารถเข้าเกมได้เพราะว่าเซิร์ฟเวอร์มีการปิดปรับปรุง หรือไม่ว่าจะเป็นตอนเริ่มต้น สำหรับบาง Game จะมีให้เลือกว่าต้องการเล่นเซิร์ฟเวอร์ไหนด้วย ในส่วนขององค์กร ถ้ามีการต้องจัดการข้อมูล ก็มักจะมี Server Computer อย่างน้อยๆ 1 เครื่อง เป็นศูนย์กลางของบริษัท บทความนี้จะมาแจกแจงให้ทราบกันครับ ว่า Server คืออะไร และมีความพิเศษอย่างไรบ้าง

Server คืออะไร

นิยามของ Server นั้น คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ Service ให้กับ Computer ตัวอื่นๆ และผู้ใช้งาน ในภาษาไทยนั้น คำว่าเซิร์ฟเวอร์แปลว่า คอมพิวเตอร์แม่ข่าย ทำงานเพื่อ Support เครื่อง PC ตัวอื่นๆ ทั่วไปในระบบ เรียกว่าเครื่องลูก โดยคำที่นิยมใช้เรียกเครื่องลูก คือ เครื่อง Client นั่นเอง

Server คือ

ในกลุ่ม Data Center นั้น คอมพิวเตอร์ Hardware ที่มีโปรแกรมของ Server ทำงานอยู่ จะถูกเรียกรวมกันเลยว่า Server Computer ซึ่งเซิร์ฟเวอร์แต่ละเครื่อง จะมีทั้งรูปแบบที่อุทิศตัวเครื่องทั้งหมดในการทำหน้าที่ทั้งหมด และรูปแบบที่ใช้งานทำหน้าที่เป็นเซิฟเวอร์แค่บางส่วน คือ งานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น

ในการทำงานร่วมกันของ Server และ Client นั้น ในสถานะปกติ โปรแกรมเซิร์ฟเวอร์จะทำหน้าที่ Standby รองรับคำสั่งจากเครื่อง Client ซึ่งอาจจะมาจากคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวกันหรือคนละเครื่องก็เป็นได้ และโปรแกรมที่ใช้ในการเซอร์วิสของเซิร์ฟเวอร์กับเครื่องลูก นั้น อาจจะมาจาก Software หรือ Application ตัวเดียวกันหรือคนละตัวก็เป็นไปได้เช่นกัน

มีวิธีการทำงานยังไง

คำว่า Server นั้น สามารถหมายความถึงอุปกรณ์ที่จับต้องได้, อุปกรณ์จำลอง หรือ Software ก็ได้ การทำงานของเซิร์ฟเวอร์นั้นขึ้นอยู่กับชนิดและสถานะของมันด้วย ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

Physical Servers

Physical Server นั้น เรียกได้ง่ายๆ ว่าเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานประมวลผล Server Software นั่นเอง ข้อแตกต่างของเซิร์ฟเวอร์กับคอมพิวเตอร์ทั่วไปจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป ซึ่งในปัจจุบันนี้ เราสามารถแบ่งประเภทของ Physical Server ได้ตามลักษณะ Form Factor ของตัวเครื่อง ซึ่งคือรูปทรงและขนาดของมันนั่นเอง ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลัก ดังนี้

Server คือ

Tower Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบฟอร์มทาวเวอร์นั้น มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง วางเดี่ยวๆ แบบ Standalone ซึ่งก็มีรูปทรงเหมือน Desktop Computer ทั่วไปนี่เอง ต่างกันที่ Server ทรงนี้จะมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทดีกว่า เนื่องจากมีการออกแบบมาให้ชิ้นส่วนแต่ละชิ้นประกอบกันไม่หนาแน่นจนเกินไป

Form Factor รูปทรงนี้ยังถือว่ามีราคาที่ประหยัดที่สุดเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่น จังเหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงกลาง (SMB) ที่มีงบประมาณจำกัด อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของมันก็มี คือกินพื้นที่เยอะเมื่อเทียบกับรูปทรงอื่นๆ

> เลือกซื้อ Tower Servers กับเรา

Server คือ

Rack Servers – เซิร์ฟเวอร์แบบ Rack นั้น ออกแบบมาเพื่อติดตั้งในตู้ Rack ในห้อง Data Center มักทำหน้าที่จัดการระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในศูนย์ข้อมูล รองรับปริมาณงานจำนวนมาก ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อยกว่าแบบ Tower ออกแบบมาเป็นรูปทรงแนวนอนมาตรฐาน เพื่อให้เซิร์ฟเวอร์, UPS หรือ Switch จากแบรนด์ที่แตกต่างกัน สามารถวางติดตั้งทับซ้อนกันในตู้ Cabinet ได้

ฟอร์มแบบ Rack นี้จะใช้หน่วยเรียกขนาดว่า U ซึ่งวัดจากความสูงของตัวเครื่องเท่านั้น (1U = ความสูงประมาณ 4.4 cm) สายไฟที่ใช้เสียบมักถูกจัดการอย่างเรียบง่าย เพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและถอดออกเพื่อซ่อมบำรุง

> เลือกซื้อ Rack Servers กับเรา

ราคาถูก จำหน่าย ขาย

Blade Servers – เบลดเซิร์ฟเวอร์คือ Device ขนาดกะทัดรัด ที่มีลักษณะเป็นกล่อง Composable ภายในเป็นตัว Blade Server ขนาดเล็กติดตั้งอยู่รวมกันหลายๆ ตัว แต่ละตัวมีระบบระบายอากาศ Cooling System ของตนเอง ทุกตัวมักอุทิศตนทำงานให้ Application อย่างเดียวร่วมกัน

เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงกว่า Form Factor แบบอื่น จึงมาพร้อมกับราคาที่สูงกว่า อีกหนึ่งข้อดีคือง่ายต่อการซ่อมแซม เพราะสามารถถอดเปลี่ยน Blade แต่ละอันได้เลย นิยมใช้ในองค์กรระดับ Enterprise

การใช้งาน

Mainframes – เมื่อช่วงยุค 1990 เมนเฟรมคอมพิวเตอร์นั้น ถูกคาดการณ์ว่าจะทำหน้าที่เป็น Server ในอนาคต แต่ปัจจุบันกลับไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากราคาที่สูง และโครงสร้างที่ใหญ่ ต้องลงทุนเยอะ ทำให้รูปแบบเซิร์ฟเวอร์ Tower, Rack และ Blade เป็นที่นิยมมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ขององค์กรระดับ Enterprise บางที่ยังคงนิยมใช้เมนเฟรมเป็นเซิฟเวอร์อยู่ อาทิเช่น บริษัทการเงินที่ต้องมีการคำนวนมากๆ หรือ ร้านค้าออนไลน์ขนาดใหญ่ที่มี Tracsaction ตลอดเวลา เป็นต้น

Virtual Servers

Server แบบ Virtual นั้น คือการจำลองระบบขึ้นมาให้ทำหน้าที่เสมือน Physical Server ซึ่งก็ต้องมีระบบปฏิบัติการและ Application เป็นของตนเองเช่นกัน การสร้าง Virtual Machines นั้น ต้องมีการติดตั้ง Software กลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า Hypervisor (หรือ VMware) ลงบท Physical Server ซึ่งเจ้า Hypervisor นี้จะทำหน้าที่ช่วยให้ Physical Server สามารถทำหน้าที่เป็น Host ที่จำลองเครื่องเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงขึ้นมาอีกตัว

HPE Dell Lenovo

เจ้าเซิร์ฟเวอร์จำลองที่สร้างมานี้ จะมีองค์ประกอบเหมือนกับ Server จริงๆ ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น CPU, Memory, Storage หรือ Network เป็นต้น ซึ่งจำนวนที่จำลองได้ ทำได้อย่างไม่มีจำกัด แต่ก็จะกินทรัพยาการเครื่อง Host ไปตามสัดส่วนที่แบ่งออกมา

เราสามารถใช้ Console ในการช่วยจัดสรรแบ่งทรัพยากรต่างๆ ไปยัง Virtual Server แต่ละตัวตามความต้องการของสเปคที่ใช้ได้ วิธีนี้ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายในส่วน Hardware อย่างสูง เพราะ Physical Server เพียงตัวเดียว ก็สามารถสร้าง Virtual Servers ขึ้นมาหลายๆ ตัว ช่วยกันทำงานต่างๆ มากมายหลายๆ ประเภท แล้วแต่ที่เครื่อง Host ออกคำสั่งเลยครับ

การทำ VMware ถือว่าเป็นการส่งเสริม เพิ่มค่า High Availability ด้วย โดยจะส่งเสริมให้ระบบโครงสร้างไอทีขององค์กรมีความเสถียรมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าใช้ระบบโครงสร้างแบบ Storage เดียวกัน

> อ่านบทความ High Availability คืออะไร

Server Software

เซิร์ฟเวอร์นั้น ต้องการองค์ประกอบที่เป็น Software ขั้นต่ำ 2 ส่วน ได้แก่ ระบบประมวลผล (Operating System หรือ OS) และแอพพลิเคชั่น (Application) ตัว OS นั้นจะทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับดำเนินการทำงาน Application ต่างๆ โดยช่วยให้เข้าถึงทรัพยากร Hardware พร้อมช่วยรองรับความต้องการต่างๆ ที่แอพพลิเคชั่นต้องการ

เจ้า Operating System ยังทำหน้าที่จดจำและเป็นสื่อกลางในการสื่อสารระหว่างเครื่อง Client และ Server Application ยกตัวอย่างเช่น การกำหนด IP Address หรือ ชื่อโดเมน ต่างก็ถูกประมวลผลและกำหนดตั้งแต่ระดับ OS

ต่างกับ Computer ทั่วไปยังไง

Desktop Computer และ Server นั้น มีทั้งสิ่งที่เหมือนกัน และไม่เหมือนกัน โดยเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะใช้ระบบประมวลผลแบบ X86X64 CPUs และสามารถทำงานในรูปแบบ Code เดียวกันกับคอมพิวเตอร์ทั่วไปที่ใช้ X86/X64 ได้ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ Physical Server ส่วนใหญ่จะรองรับการติดตั้ง CPU หลายๆ Socket และรองรับปริมาณการใส่ Ram ได้จำนวนมากกว่าเยอะเลยครับ

อีกหนึ่งข้อได้เปรียบของเซิฟเวอร์คือตัวเครื่องจะมีความแข็งแรงทนทานกว่า PC ทั่วไป มีการออกแบบมาให้สามารถระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม และสามารถเปิดใช้งานได้ 24 ชั่วโมงต่อเนื่องกันหลายๆ วัน หรือเป็นเดือนเป็นปีเลยทีเดียวครับ

การทำ Redundant

เพราะ Server Hardware นั้นมักใช้ทำงานกับข้อมูลที่มีความสำคัญสูงจำนวนมากๆ เซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จึงถูกออกแบบมาให้รองรับการทำ Redundant (สำรองอุปกรณ์) ทั้งตัวมันเอง และชิ้นส่วนสำคัญต่างๆ ภายในตัวเครื่อง

ตัวเครื่องอาจจะประกอบด้วย Redundant Power Supply, Harddisk (RAID) และ Network Interfaces ซึ่งระบบการรีดันแดนท์นี้ช่วยให้ Server ยังสามารถทำงานต่อไปได้แม้ชิ้นส่วนหลักเกิดความเสียหายขึ้นมา

> อ่านบทความ Redundant Server คืออะไร
> อ่านบทความ RAID คืออะไร

IP

Form Factor

นอกจากนี้ อีกหนึ่งข้อแตกต่างของ Server กับ Desktop Computer คือ Form Factor โดยปัจจุบันคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะมักจะออกแบบมาในรูปทรง Mini Tower หรือ Small Form ซึ่งออกแบบมาให้ติดตั้งกับโต๊ะทำงานได้อย่างสะดวก ประหยัดเนื้อที่ ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์นั้น แม้จะมีบางรุ่นที่ออกแบบมาในรูปทรง Tower คล้ายๆ คอมพิวเตอร์เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีดีไซน์เป็นรูปแบบ Rack Mounted เสียมากกว่า ระบบ Rack นั้นจะมีมาตรฐานขนาดที่ตายตัว แตกต่างกันเพียงแต่ความสูง ซึ่งใช้หน่วยเป็น 1U, 2U หรือ 4U เป็นต้น

Operating System

อีกหนึ่งข้อแตกต่างที่สำคัญของเซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์ทั่วไป คือระบบปฏิบัติการ นั่นเอง โดย OS ของ Desktop Computer นั้น สามารถรองรับฟีเจอร์การทำงานของ Server ได้แค่บางฟังก์ชั่นเท่านั้น แต่ไม่ได้ออกแบบมาให้ Support ทุกๆ การใช้งานครับ ยกตัวอย่างเช่น Windows 10 Pro ทั่วไป ก็มีฟีเจอร์ Hyper-V ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มในการสร้าง Virtual Machine ของ Microsoft ให้ใช้งานเหมือนกัน แต่ Hypervisor ของ Windows 10 Pro จะไม่สามารถใช้งานฟีเจอร์บางส่วนของ Virtual Servers ได้เหมือน Windows Server

Client

ถึงแม้ว่าองค์กรทั่วไปจะสามารถทำ Virtual Server ผ่าน Hyper-V ของ Windows 10 Pro แต่จะมีปัญหาเรื่อง License เมื่อ Microsoft ตรวจสอบเจอ

นอกจากนี้ Hyper-V ของ Windows Server ยังมีฟีเจอร์ที่ครบถ้วนกว่าของ Window 10 Pro อาทิเช่น รองรับการล้มเหลวของ Clustering, การทำ Virtual Machine Replication และ Feature Virtual Fibre Channel เป็นต้น

Windows 10 ทั่วไปนั้น สามารถสร้างไฟล์ให้กับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครือข่ายได้เหมือนกัน แต่ไม่สามารถทำการแชร์ไฟล์แบบสเกลใหญ่ได้ ในขณะที่ Windows Server สามารถปรับแต่งให้ทำหน้าที่เป็น File Sever ได้อย่างเต็มรูปแบบ ในองค์กรระดับ Enterprise ขนาดใหญ่ การบริหารระบบไฟล์ข้อมูลสามารถจัดการได้ผ่าน Server Farm เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ, ความยืดหยุ่น และความเสถียรให้กับระบบ แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์เพียงเครื่องเดียว

> อ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OS Server ได้ที่นี่

CategoriesWindows Server

Windows Server คืออะไร มีกี่ประเภท กี่แบบ กี่เวอร์ชั่น และมีวิธีเลือกซื้อมาใช้งานอย่างไรบ้าง

หลายคนอาจสงสัย ทำไมถึงมีระบบปฏิบัติการ (OS : Operating System) ออกมาเยอะแยะมากมาย นั่นก็เพราะว่าในการทำงานแต่ละประเภทนั้น บาง OS นั้นถูกออกแบบมาให้ใช้งานเฉพาะทาง อย่าง Microsoft Windows Server นี้ก็ถูกออกแบบมาสำหรับใช้งานในเครื่อง Super Computer หรือ Server ที่มีการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากๆ ในเวลาเดียวกัน ซึ่งใช้งานในการเก็บบันทึกข้อมูลสำหรับองค์กรต่างๆ

อีกตัวอย่างการใช้งาน ้เช่น เว็บไซต์ที่เราใช้งานกันอยู่บนโลก Internet ทุกวันนี้ก็รันบนวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์แทบทั้งหมด หรือเรียกอีกอย่างว่าเครื่องแม่ข่าย (Server) ที่จะกระจ่ายข้อมูลให้เครื่องลูกข่ายหรือคอมพิวเตอร์ส่วนตัว (Personal Computer) เข้าถึงข้อมูลได้พร้อม ๆ กันจำนวนหลายคนได้ เรามาทำความรู้จัก “วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์” กันต่อดีกว่า ว่ามีแบบไหนบ้าง มีกี่เวอร์ชั่น มีการขายกี่แบบ และมีวิธีใช้อย่างไร

สำหรับใครที่สนใจสั่งซื้อวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อขอคำปรึกษาได้ฟรี ไม่มีค่าจ่าย รวมถึงมีบริการจัดทำใบเสนอราคาให้สำหรับลูกค้าองค์กร ซึ่งเรามีขาย License ทุกรูปแบบ ทุกแพคเกจ ตามความเหมาะสมกับการใช้งาน

Windows Server คืออะไร

Windows Server คือระบบปฏิบัติการเซิร์ฟเวอร์ (Server OS : Server Operating System) แบบหนึ่ง ที่ออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานเฉพาะทาง กับเครื่อง Super Computer หรือ เครื่อง Server ที่มีการประมวลข้อมูลพร้อม ๆ กันจำนวนมหาศาล รองรับการเข้าใช้งาน หรือเข้าถึงข้อมูลพร้อมกันหลาย ๆ คนได้ อย่างเช่น Web Server, File Server, Data Center Server, Mail Server เป็นต้น

จำหน่ายครั้งแรกในปี 2003

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ถูกพัฒนา และผลิตขึ้นโดยบริษัทไมโครซอร์ฟ (Microsoft Corporation) เป็นการพัฒนาจาก Windows NT ซึ่ง วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ รุ่นแรกสุดคือ Windows NT 3.1 Advanced Server ตามด้วย Windows NT Server รุ่น 3.5, 3.51, 4.0 และ Windows 2000 Server ตามลำดับ ซึ่งรุ่นแรกที่วางจำหน่ายจริง ขายครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 2003 ซึ่งก็ประมาณ 20 ปีที่แล้วเลยทีเดียว

สำหรับวินโดว์เซิร์ฟเวอร์เอง ก็มีหลายเวอร์ชั่น และได้พัฒนาออกมาเป็น Version แยกย่อยให้เหมาะกับการใช้งานแต่ละประเภท เช่น เวอร์ชั่น Essential Edition, Standard Edition และ Datacenter เป็นต้น ทางไมโครซอฟท์ ได้มีการพัฒนาวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดที่ใช้กันนั้นจะเป็นเวอร์ชั่น 2019 และยังมีรุ่นที่เปิดตัวออกมาใหม่ คือ Windows Server 2022 ซึ่งเปิดตัวและเริ่มวางจำหน่ายสดๆ ร้อนๆ เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมานี้เอง

มีกี่เวอร์ชั่น (Version)

Windows Server มีหลาย Version ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนและพัฒนากันมาอย่างต่อเนื่อง ในเนื้อหาส่วนนี้ผมจะใส่เป็นชื่อรุ่นที่จำหน่ายจริงคร่าว ๆ พร้อมปีที่เปิดตัวดังนี้

  • Version 2003 (เมษายน ปี ค.ศ. 2003)
  • Version 2003 R2 (ธันวาคม ปี ค.ศ. 2005)
  • Version 2008 (กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 2008)
  • Version 2008 R2 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2009)
  • Version 2012 (กันยายน ปี ค.ศ. 2012)
  • Version 2012 R2 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2013)
  • Version 2016 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2016)
  • Version 2019 (ตุลาคม ปี ค.ศ. 2018)
  • Version 2022 (สิงหาคม ปี ค.ศ. 2021)
Windows Sever

จะเห็นได้ว่าวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ มีการปรับปรุงและอัพเดตใหม่ทุก ๆ 1-2 ปี จากรุ่นหลัก เช่น Windows Server 2003 คือรุ่นหลัก และ Version 2003 R2 คือรุ่นรอง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าทำไม Version 2016 ถึงไม่มีเวอร์ชั่น R2 แต่ถูกข้ามไปเป็น Version 2019 เลย และล่าสุดก็เปิดตัว Windows Server 2022 ออกมาเมื่อ ปี ค.ศ. 2021 ที่ผ่านมานี่เองครับ

มีกี่ประเภท (Edition)

Windows Server ในแต่ละเวอร์ชั่น เช่น Version 2016 และ 2019 นั้น ก็จะมีการแบ่งย่อยออกได้อีก 3 ประเภท ซึ่งจะเรียกเป็น “Edition” และแยกตามการใช้งาน ดังนี้ครับ

  1. Essential Edition เป็นรุ่นเริ่มต้น จึงเหมาะสำหรับธุรกิจ หรือองค์กรขนาดเล็ก ที่มีผู้ใช้งานไม่เกิน 25 คน และอุปกรณ์ไม่เกิน 50 เครื่อง
  2. Standard Edition เป็น Edition ยอดนิยม ส่วนใหญ่ใช้กับ Server ทั่วไป หรือทำ VM ได้ในจำนวนที่จำกัด เหมาะสำหรับองค์กร หรือธุรกิจขนาด เล็ก – กลาง อย่าง ธุรกิจ SME, SMB เป็นต้น
  3. Datacenter เป็น Edition ที่มีความสามารถสูงสุด เหมาะที่จะใช้งาน VM และ Cloud solution ได้เต็มรูปแบบ จึงเหมาะสำหรับองค์กรขนาดใหญ่ ที่มี Data Center เป็นศูนย์กลาง
วิธีใช้

มีรูปแบบ License ให้เลือกใช้กี่แบบ

ประเภทของ License ที่มีให้เลือกใช้งานจริงๆ นั้น สามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ Volume License และ CSP License ซึ่งทั้ง 2 แบบ จะมีความต่างกันดังนี้

มีกี่เวอร์ชั่น

Volume License

จะเป็น License แบบที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งมันคือแบบซื้อขาด ซื้อครั้งเดียวจบ ส่วนใหญ่มักจะใช้กันตาม Office หรือ On-premise ราคาจะถูกคิดตามสเปคของ Server ซึ่งแบบ Volume License นี้ จะไม่สามารถ Upgrade เป็นเวอร์ชั่นอื่นได้ เช่น หากซื้อ Windows Server 2016 อยู่ 3 ปีผ่านไปเวอร์ชั่นใหม่ออก ก็จะไม่สามารถอัปเกรดเป็น Version 2019 ได้

หากคุณอยากจะ Upgrade เป็น Enterprise ก็ไม่สามารถทำได้ และไม่สามารถใช้งานบน Cloud ได้ จัดอยู่ในแบบ OEM License (Original Equipment Manufacturer) จะมาในรูปแบบของซองแข็ง และจะมีแผ่น DVD และ License อยู่ด้านใน สามารถนำไปติดตั้ง หรือ Activate กับเครื่องใหม่ ที่ยังไม่มี License มาก่อน และตัว License Key ก็จะฝังติดอยู่กับเมนบอร์ด (Mainboard, Motherboard) ของเครื่องนั้น ๆ เท่านั้น ไม่สามารถย้ายเครื่องในการติดตั้งใหม่ได้

CSP (Cloud Solution Provider)

จะเป็นรูปแบบการขายแบบ Cloud Service ของ Microsoft ซึ่งทำให้ Partner และลูกค้า มีความยืดหยุ่นในการสั่งซื้อ โดยลูกค้าสามารถเลือกซื้อแบบเช่ารายเดือน หรือรายปีได้ และสามารถปรับเปลี่ยนแพลนได้ตามต้องการ ช่วยลดต้นทุน ดีกว่าแบบซื้อขาดในครั้งเดียว แถมยังได้ Upgrade เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ตลอด หรือตามข้อตกลงในสัญญาการเช่า หากวันข้างหน้ามีการปรับเปลี่ยนสเปคของ Server เครื่องนั้น ๆ ก็สามารถเพิ่มหรือลดค่าบริการในส่วนนั้นได้เช่นกัน ส่วนใหญ่การเช่าจะเป็นแบบ On Cloud นั่นเองครับ

คืออะไร

ซึ่งทั้ง 2 แบบ การซื้อ License นั้น จะต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วน ที่จะทำให้สามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์ คือ

CPU Core

ในส่วนนี้ จะนับเป็น Physical Core หรือ Virtual Core ก็ได้ ตามการใช้งาน อย่างเช่น เครื่อง Server ที่ใช้มี 16 Cores ก็ต้องซื้อแบบ Per Core 8 License ( 1 License = 2 Cores) แตกหากเครื่อง Server มีจำนวน Core ไม่ถึง ก็ต้องซื้อ License ให้ครอบคลุม 16 Cores เหมือนเดิม เนื่องจากเป็นขั้นต่ำที่ Microsoft กำหนดไว้นั่นเอง

CAL

สำหรับส่วนของ CAL (Client Access License) คือ License ที่จะทำให้มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งานเครื่อง Server ได้ โดย CAL จะถูกแบ่งออกเป็น 2 แบบดังนี้

  • User CAL จะนับตามจำนวน User ที่จะเข้าใช้งาน เช่น User 1 คน มีอุปกรณ์ (Device) หลายเครื่อง ที่สามารถเข้าถึง Server ได้ อาจจะเป็น PC, Laptop หรือ Smart Phone ก็ได้ แบบนี้จะเรียกว่า User CAL
  • Device CAL แบบนี้จะนับตามจำนวนเครื่องหรืออุปกรณ์ที่จะเข้าใช้งานกับเครื่อง Server เช่น คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งานร่ามกัน อย่างคอมพิวเตอร์ตามโรงเรียน หรือโรงพยาบาล เป็นต้น

สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อ แต่คำนวนจำนวน CAL ไม่ถูก สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อให้ทีมขายของ Add In Business เราช่วยคำนวณให้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ROK คืออะไร

ROK ย่อมาจาก Reseller Option Kit เป็นรูปแบบการจัดจำหน่าย License Software สำหรับตัวแทนจำหน่ายที่น่าเชื่อถือ มีประสิทธิภาพที่ได้พิสูจน์แล้วว่ามีการจัดราคาที่เหมาะสม เพื่อไปจำหน่ายต่อให้แก่ลูกค้าในกลุ่มธุรกิจได้อย่างถูกต้อง สำหรับแบรนด์นั้น ๆ เท่านั้น

ROK แตกต่างจาก Windows Server เวอร์ชั่นอื่นอย่างไร

จริงๆ แล้ว ROK ก็คือวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ประเภทหนึ่ง เป็นระบบปฏิบัติการ OS ที่มีลักษณะแบบเดียวกันกับรุ่นเวอร์ชั่นอื่นๆ ที่ลูกค้าซื้อได้โดยตรงจาก Microsoft แต่ด้วยข้อตกลงของเครื่อง Server แต่ละแบรนด์ ทำให้แบรนด๋ต่างๆ สามารถปรับแต่งการตั้งค่า และประสิทธิภาพของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์เวอร์ชั่นพิเศษโดยเฉพาะ ให้เหมาะสมแบรนด์ตัวเองได้ เพื่อให้เข้ากับสมรรถนะเครื่องโดยเฉพาะ และใช้ใน Server ของแบรนด์ตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับ Server แบรนด์อื่นได้ เช่น Windows Server ROK ของ HPE ก็ต้องใช้กับ HPE Server เท่านั้น, ROK ของ Dell ก็ใช้กับ Dell Server หรือ ROK ของ Lenovo ก็ใช้กับ Lenovo Server เท่านั้น เป็นต้น

Windows Server ROK จัดอยู่ในกลุ่มของ OEM License (Original Equipment Manufacturer) ไม่สามารถย้ายเครื่องได้ หากติดตั้งเครื่องไหนแล้ว ก็จะฝังอยู่กับเครื่องที่ติดตั้งไว้เท่านั้นครับ

ข้อดีของวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์ประเภทนี้ คือ มีราคาค่อนข้างถูกกว่าแบบเวอร์ชั่นทั่วไปที่จำหน่ายโดย Microsoft ทำให้สามารถเข้าถึงองค์กร และกลุ่มธุรกิจต่างๆ ที่มีอุปกรณ์ Computer Server ติดตั้งเป็นแบรนด์ชั้นนำใช้งานอยู่แล้ว ได้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น

คลิปเรียนรู้ทริคการใช้งานวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์

Windows server คือระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาสำหรับทำงานเฉพาะด้าน และใช้งานกับ Super Computer หรือ Server เพื่อทำเป็นเครื่องแม่ข่ายภายในองค์กร เช่น Data Center Server, File Server, Mail Server หรือ Web Server เป็นต้น มีจำหน่ายอยู่หลายเวอร์ชั่น ในแต่ละ Version จะถูกแบ่งออกเป็น 3 Edition คือ Essential Edition, Standard Edition และ Datacenter เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานแต่ละประเภท และขนาดขององค์กร

วินโดวส์เซิร์ฟเวอร์นั้น จะแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบการขาย แบบแรก คือ Volume License ที่สามารถซื้อขาดในครั้งเดียว ใช้นานเท่าไหร่ก็ได้ ไม่สามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ จะเหมาะกับการติดตั้งแบบ On-Premise และ แบบที่สอง คือแบบ CSP ที่เป็นลักษณะเช่าใช้ โดยสามารถเช่าใช้เป็น รายเดือน หรือรายปี อาจจะมีสัญญาเงื่อนไขในการเช่า แบบนี้จะสามารถอัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดได้ตลอดเวลา และมีความยืดหยุ่นต่อการใช้งานมากกว่า ทั้งนี้ การเลือกซื้อใช้งาน ก็จะขึ้นอยู่กับ User ว่ามีความสนใจรูปแบบไหนมากกว่ากัน

สำหรับการคิดราคานั้น ก็จะถูกคิดตามสเปคของ Server เครื่องนั้นๆ และต้องซื้อ CAL เพื่อให้สิทธิกับ Device หรือ User ที่จะเชื่อมต่อกับ Server ด้วย สำหรับใครที่กำลังตัดสินใจเลือกซื้อ แต่คำนวนไม่ถูก สามารถติดต่อเราที่นี่ เพื่อให้ทีมขายของ Add In Business เราช่วยคำนวณให้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

หากข้อมูลในเนื้อหานี้ มีความผิดพลาดประการใน ทางผู้เขียนต้องขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ

CategoriesMS SQL

SQL Server License เลือกง่าย ๆ ประหยัดได้หลายแสน!!

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน กลับมาพบกันอีกครั้งนะครับ ตามที่ได้สัญญากันไว้ว่าจะมาเขียนเรื่องการเลือกใช้ Microsoft SQL Server License

วันนี้ผู้เขียนจะมาอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นนะครับ ณ วันที่เขียน (3/5/2019) Microsoft SQL Server Version ล่าสุดที่มีจะเป็น Microsoft SQL Server 2017 (รุ่น 2019 ยังไม่ออกมาเต็มตัว) มี 5 Editions คือ

  1. Standard Edition เป็น Edition ทั่วไปที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด มี Feature ที่เพียงต่อการใช้งาน
  2. Enterprise Edition ตามชื่อคือ Enterprise ใช้สำหรับ Environment ที่ Critical มาก ๆ Down ไม่ได้ มี Feature ให้เลือกใช้ทุกแบบ ตัวอย่างเช่น Always On, HA, DR และ Backup
  3. Web Edition ใช้กับ Web เช่น Web Hosting มีขายเฉพาะ SPLA License เท่านั้น ราคาถูกที่สุด
  4. Developer Edition สำหรับ Developer ไว้เพื่อทดสอบระบบ เป็นตัวฟรี Feature เทียบเท่า Enterprise edition
  5. Express Edition สำหรับใช้งานใน Environment เล็ก ๆ เป็นตัวฟรีเช่นกัน

แต่สำหรับ License ที่จะนำมาเปรียบเทียบและที่เป็นที่นิยม Popular มาก ๆ ของ SQL Server มี 2 Edition คือ Standard กับ Enterprise

เรามาเริ่มที่ Volume License ของ SQL Server ที่เป็น Standard Edition กันครับ

Volume License ของ SQL Server Standard Edition มี 2 แบบ

แบบที่ 1

เป็นการคิดจาก CAL – จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 คิดราคาตามจำนวน CPU Core ของ Server + ส่วนที่ 2 คิดตามจำนวน CAL (เรียกแบบนี้ว่า CAL Model)

สำหรับส่วนที่ 1 (Server) Microsoft ให้นับเป็นแบบ Physical Core หรือ Virtual Core เช่น Server มี 8 Core ก็จะใช้ License แบบ Per Core License 4 License (1 License = 2 Cores)

โดยขั้นต่ำของ Microsoft ระบุไว้ว่าต้อง License อย่างน้อย 4 Cores

สำหรับส่วนที่ 2 (CAL) Client Access License เป็น License ที่จะทำให้มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน Server แบ่งแยกออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. User CAL นับตามจำนวน User จะใช้งานจากกี่ Device ก็ได้ เช่น คอม, มือถือ หรือแท็บเล็ต ที่เชื่อมต่อไปหา Server
  2. Device CAL นับตามจำนวน Device ที่เข้าใช้งาน Server

เคล็ดลับสำหรับการเลือกใช้ CAL ใช้แบบไหนดี ? วิธีการตามนี้

  1. ถ้า Device ที่ใช้มีมากกว่า User ให้ใช้ User CAL (ตัวอย่างเช่น User มี Laptop, Smartphone และ Tablet ที่สามารถเข้าถึง Server ได้)
  2. ถ้า User มีมากกว่า Device ที่ Access ให้ใช้ Device CAL เช่น ทำงานเป็นกะ, โรงเรียนและโรงพยาบาล ใช้เครื่องเดียวกันผลัดเปลี่ยนหลายคน

แบบที่ 2

เป็นการซื้อเหมาไม่จำกัด CAL – คิดตาม CPU Core ของ Server (เรียกแบบนี้ว่า Per Core Model)

สามารถซื้อใช้กับ Physical Server และ Virtual Server ก็ได้ มีขั้นต่ำที่ Microsoft ระบุไว้ว่าต้อง License ให้กับ Server อย่างน้อย 4 Cores ต่อ Processor

ถัดมาจะเป็น Volume License ของ SQL Server ที่เป็น Enterprise Edition ครับผม

Volume License ของ SQL Server Enterprise Edition จะคิดราคาแค่แบบเดียวคือ Per Core Model เป็น Per Core Model เหมือนกับ Standard Edition แต่จะต่างกันที่ Feature ที่ Enterprise มีให้มากกว่า

ข้อเสียของ Volume License คือ

  1. ไม่สามารถใช้งาน Version ใหม่ หรือ เก่ากว่าได้
  2. ไม่สามารถย้าย License จาก On-Premise ไป Virtual หรือ Cloud ได้

ปัญหาทั้ง 2 ข้อด้านบนจะหมดไป ถ้าคุณซื้อ Volume License + SA (Software Assurance)

Software Assurance ช่วยให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์จากการใช้ License ได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย โดยประโยชน์ที่จะได้มีดังนี้ครับ

สำหรับ Standard Edition

  1. สามารถใช้งาน Version ที่ออกมาใหม่ได้ เช่น ปัจจุบันใช้งาน Version 2017 ถ้าต้องการ Implement ใหม่ใช้งาน Version 2019 ไม่จำเป็นต้องซื้อ License ใหม่
  2. สามารถย้าย License ไปยัง Server อื่นหรือ บน Cloud ได้

สำหรับ Enterprise Edition จะเพิ่มจาก 2 ข้อด้านบน คือ

  1. ใช้งานบน Virtual ได้ไม่จำกัด VM

 

เทคนิคการประหยัดเงินและตัวอย่างการคำนวณราคา License

ราคา License SQL Server แบบ Volume (ณ ปี 2019)

  • SQL Server 2017 Standard Edition (Server) ราคา 28,500 บาท/License ซื้อขั้นต่ำ 4 Cores หรือ 2 Licenses
  • User/Device CAL ราคา 6,990 บาท/License
  • SQL Server 2017 Standard Edition (Core) ราคา 109,000 บาท/License ซื้อขั้นต่ำ 4 Cores หรือ 2 Licenses
  • SQL Server 2017 Enterprise Edition ราคา 424,000 บาท/License ซื้อขั้นต่ำ 4 Cores หรือ 2 Licenses

อ้างอิงจาก :  https://www.2beshop.com/Microsoft-SQL-Server.html, 1 License = 2 Cores

ยกตัวอย่างติดตั้ง Standalone

มี Physical Server อยู่ 1 เครื่อง Spec 4 CPU Core ต้องการใช้งาน SQL Server Standard มี User ใช้งาน 4 คน เข้าใช้งานผ่าน PC ของใครของมัน แบบนี้จะใช้ License ตามนี้

SQL Server Standard Edition (Server) ทั้งหมด 2 Licenses (1 License / 2 Cores อย่าลืมว่าขั้นต่ำต้องซื้อ 2 Licenses = 4 Cores) + SQL Server User CAL 4 Licenses ค่าใช้จ่ายรวมจะประมาณ (28,500 x 2) + (6990 x 4) = 84,960 บาท

หรือ ถ้านับ User ไม่ได้ มีคนใช้งานเยอะนับไม่ไหว ใช้ License แบบ Core ได้ อ้างอิงจาก Physical Server เครื่องเดิม Spec 4 CPU Core จะใช้ SQL Server 2017 Standard Edition (Core) ทั้งหมด 2 Licenses

ค่าใช้จ่าย 109,000 x 2 = 218,000 บาท

จุดคุ้มทุน ถ้าเทียบที่ 4 Cores แบบ Server + CAL ต้องมี User <= 20 Users ถ้า User ใช้มากกว่านั้น ใช้แบบ Core คุ้มกว่า

ยกตัวอย่างระบบ Virtualize (VMware, Hyper-V)

กรณีที่ต้องการจะใช้ SQL Server จำนวนมาก จะมีวิธีประหยัดอยู่ครับ มาดูเคสตัวอย่างกันเลย ต้องการติดตั้ง SQL Server บน Windows Server จำนวน 40 Guests (4 Cores / Guest รวมเป็น 160 Cores) บนระบบ Virtualize ระบบมี Physical Host ขนาด 16 Cores จำนวน 2 Host รูปแบบ License ที่จะประหยัดมากที่สุดคือ SQL Server 2017 Enterprise Edition ใช้ License จำนวน 16 Licenses (1 License / 2 Cores) + SA ก็จะครอบคลุม Physical Host ทั้งหมดไม่ต้องเสียค่า License เพิ่ม คำนวณดูแล้ว ค่า License ที่เราจะเสียจะประมาณ 8 ล้านบาท

ถ้าคิดต่อ Guest ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 2 แสนบาท / Guest ถ้ามีแผนจะ Implement แนะนำให้ใช้วิธีนี้ สามารถเพิ่ม SQL Server ได้ไม่จำกัดจำนวนเลย ซึ่ง Enterprise Edition ทาง Microsoft จะแนะนำให้ใช้กับระบบ Virtualize Scale ใหญ่ ๆ อยู่แล้ว (อย่าลืมว่าต้องมีซื้อ License รวมกับ SA นะ)

ถัดมาเป็น SPLA License เป็น License เช่าใช้รายเดือน หาซื้อได้จาก Cloud Service Provider หรือ Hosting เจ้าต่าง ๆ

SPLA License ของ SQL Server Standard Edition มี 2 แบบ

แบบที่ 1

เป็นแบบ SAL Model

(SAL) Subscriber Access License (เหมือน CAL สำหรับ SPLA แต่เรียกว่า SAL) เป็น License ที่จะทำให้มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน Server แบ่งแยกออกเป็น 2 แบบ คือ

  1. แบบที่ 1 User SAL นับตามจำนวน User จะใช้งานจากกี่ Device ก็ได้
  2. แบบที่ 2 Device SAL นับตามจำนวน Device ที่เข้าใช้งาน Server

SAL จะนับ User หรือ Device คล้าย ๆ กับ CAL แต่ไม่ต้องซื้อ Server License แบบ Per CAL Model

มองง่าย ๆ คือ ถ้าจะใช้ SQL Server Standard Edition แบบนับ User ได้ ให้ซื้อแค่ SAL License อย่างเดียว

แบบที่ 2

เป็นแบบ Per Core Model นับตามจำนวน Core

สามารถซื้อใช้กับ Physical Server และ Virtual Server ก็ได้ มีขั้นต่ำที่ Microsoft ระบุไว้ว่าต้อง License ให้กับ Server อย่างน้อย 4 Cores ต่อ Processor

ถัดมาจะเป็น SPLA License ของ SQL Server ที่เป็น Enterprise Edition ครับผม

SPLA License ของ SQL Server Enterprise Edition จะคิดราคาแค่แบบเดียวคือ Per Core Model

เป็น Per Core Model เหมือนกับ Standard Edition แต่จะต่างกันที่ Feature ที่ Enterprise มีให้มากกว่า

จุดคุ้มทุน ถ้าเทียบกันแล้วระหว่าง SPLA กับ Volume จะอยู่ที่ 25 – 30 เดือน หากจะ Implement ใช้ในระยะยาวแล้ว แบบ Volume จะคุ้มว่า แต่ SPLA จะได้เปรียบในการประหยัด Cash Flow ได้มากกว่าครับ

สิ่งที่สำคัญของ SPLA เลยก็คือลูกค้าสามารถ Upgrade หรือ Downgrade Version SQL Server ได้ตลอด ส่วน Volume จะต้องซื้อ SA ตั้งแต่ Day One ทำให้ค่าใช้จ่ายของ Volume แบบ Total (รวม SA แล้ว) เสียเพิ่มไปอีกประมาณ 60% ของราคา License

ราคา License SQL Server แบบ SPLA (ณ ปี 2019)

  • User/Device SAL ราคา 1,000 บาท/License
  • SQL Server 2017 Standard Edition (Core) ราคา 6,000 บาท/License ซื้อขั้นต่ำ 4 Cores หรือ 2 Licenses
  • SQL Server 2017 Enterprise Edition ราคา 22,000 บาท/License ซื้อขั้นต่ำ 4 Cores หรือ 2 Licenses

สำหรับตัวอย่างการใช้งานของ SPLA License ส่วนใหญ่ที่ใช้กันจะเป็น Standard Edition ลักษณะ SAL

มี VM ต้องการทำเป็น SQL Server มีขนาด 2 Cores มี User ใช้งาน 4 คน พร้อมกัน จะต้อง License แบบ SAL จำนวน 4 Licenses

นับรวมค่าใช้จ่าย (1,000 x 4) = 4,000 บาท

อ่านมาถึงขนาดนี้แล้ว ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ผู้เขียนสรุปให้กระชับด้านล่างนะครับว่า

SQL Server Edition ไหนเหมาะกับใคร

SQL Server Standard เป็น Edition ที่นิยมใช้งานกันมากที่สุด มี Feature พื้นฐานเหมาะสำหรับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง

SQL Server Enterprise ใช้สำหรับ Environment ที่ Critical มาก ๆ Down ไม่ได้ มี Feature ให้เลือกใช้ทุกแบบ ตัวอย่างเช่น Always On, HA, DR และ Backup เหมาะสำหรับองค์กรใหญ่ ๆ หรือผู้ที่ต้องการใช้ Feature หลาย ๆ อย่างที่ Standard Edition ไม่มี

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง SQL Server แบบ Volume และ SPLA

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ พอจะได้ไอเดียกันไหมครับ ถ้าใครมีคำถามสามารถ Comment ได้เลยนะครับ หากต้องการให้เขียนเรื่องใด สามารถ Request เข้ามาได้นะครับ นอกจากนี้ Cloud HM ยังมีเครื่องมือในการช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้ Microsoft SQL อย่างง่าย ๆ ไปลองดูได้นะครับ

CategoriesWindows Server

License Microsoft – Volume, CAL, SPLA อธิบายง่าย ๆ ให้คุณอ่านรอบเดียวเข้าใจ

ชาว IT หลายคนคงคุ้นหูกับศัพท์ License ของ Microsoft ไม่ว่าจะเป็น Volume, CAL, SPLA กันอยู่แล้ว แต่อาจจะไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วมันคืออะไร แล้วเราควรใช้อันไหนสำหรับสถานการณ์ไหน วันนี้เราจะมาอธิบายให้ชาว IT ฟังแบบง่าย ๆ ทีเดียวจบ รับประกันอ่านอันนี้รอบเดียวเข้าใจแน่นอน

เริ่มจากภาพใหญ่สุดก่อนนั้นก็คือวิธีการขาย License Software ของ Microsoft ในตลาดปัจจุบัน จริง ๆ แล้ว Microsoft มีการขาย License หลายรูปแบบมากจนเจ้าหน้าที่ Microsoft ที่เราเคยมีโอกาสพบยังงงกันเองภายในเลย

สำหรับ Blog นี้จะขอพูดถึง 2 รูปแบบหลักที่องค์กรใช้กัน ก็คือ Volume และ SPLA หรือชื่อเต็มคือ Service Provider License  Agreement ทั้ง 2 รูปแบบนั้น End-user สามารถใช้ License ได้อย่างถูกต้องตามกฏของ Microsoft ให้คิดถึง Microsoft Office ครับ เราสามารถไปซื้อกล่อง Microsoft Office มาจากร้านขาย Software ตามห้างและนำมาใช้ที่บ้านเองได้ (เป็นการซื้อขาด) หรือเราจะสมัครใช้ Office365 ผ่านระบบ Online ของ Microsoft ก็ได้ (เป็นการเช่าใช้รายเดือน) ทั้ง 2 สามารถให้คุณใช้ License Microsoft Office ได้อย่างถูกต้อง 100%

ใครจะเลือกอันไหนคงต้องมาดูว่าเราอยากจ่ายเงินก้อนไหม? หรือเราอยากได้สิทธิ์ใช้ Software ที่ใหม่ที่สุดตลอดไหม?

เห็นภาพใหญ่กันแล้วจะขออนุญาตเข้าเรื่องก็คือ Volume และ SPLA คืออะไร ต่างกันอย่างไรและเหมาะกับใครในสถานการณ์ไหน

Volume License คือ License ที่ซื้อขาดโดยการจ่ายเงินก้อน License ดังกล่าวไว้ใช้ที่ On-premise (สถานที่ตั้งของ Office หรือ  Server คุณ) ราคาจะคิดตาม Spec ของ Server ที่คุณใช้หากตอนแรกซื้อไว้ 6 Processor และผ่านไป 3 ปี เปลี่ยน Server เล็กลงคุณจะไม่สามารถขอเงินคืนได้หรือหากใช้ Version Standard อยู่และอยาก Upgrade เป็น Enterprise คุณไม่สามารถจ่ายแค่ส่วนต่างได้ ต้องทำการซื้อใหม่หมดเลย Volume License นั้น ไม่มีวันหมดอายุ ซื้อรอบเดียวใช้กี่ปีก็ได้ แต่คุณจะไม่มีสิทธิ์ในการ Upgrade กล่าวคือต้องใช้ Version ที่ซื้อไปตลอด เช่น ซื้อ Windows  Server 2012 ในปี 2012 หากถึงปี 2020 และ Windows Server 2020 ออกเราจะไม่สามารถใช้ได้ เว้นแต่เราซื้อ Software Assurance (SA) พร้อมไปด้วย ณ วันที่เราซื้อ Software ตัวนั้น SA จะให้ประโยชน์ลูกค้าอยู่ 2 ข้อ คือ

  1. สามารถ Upgrade ใช้ Software Version ล่าสุดได้ตลอดระยะเวลา SA (ส่วนมาก 3-5 ปี สามารถถามจาก Vendor ที่เราซื้อได้)
  2. สามารถนำ Software License ดังกล่าวไปใช้ที Cloud ได้ (หากไม่มี SA Microsoft ไม่อนุญาตให้คุณเอา License Volume ไปใช้บน Cloud) Software ที่เป็นที่นิยมที่ซื้อในรูปแบบ Volume License ได้แก่ Windows, Microsoft SQL, SharePoint, Exchange, Dynamic AX และ Dynamic NAV –  Volume License นั้นมักจะหาซื้อได้จาก Vendor และ Distributor ที่ขาย Software ทั่วไป

SPLA License นั้น ตามชื่อมันเลยก็คือ Service Provider License Agreement สามารถเช่าใช้ได้จาก Service Provider หลัก ๆ ในเมืองไทยก็คือผู้ให้บริการ Cloud หรือ Hosting –  License SPLA นั้น เป็น License เช่าใช้รายเดือน กล่าวคือ ลูกค้าจ่ายค่าเช่ารายเดือนให้แก่ Service Provider เรื่อย ๆ ทุกเดือน

  • หากต้องการเลิกใช้ก็แค่หยุดจ่ายในระหว่างเดือน
  • หากต้องการ Upgrade Version ก็แค่แจ้ง Service Provider และเดือนถัดไปก็เริ่มจ่ายเพิ่มแค่ส่วนต่างเท่านั้น
  • หรือ หากเปลี่ยน Spec เครื่องสูงขึ้นหรือต่ำลงก็เช่นเดียวกัน คือ จ่ายแค่ส่วนต่างจาก Spec ที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงเทียบกับ Spec ก่อนหน้า เริ่มนับตั้งแต่เดือนถัดไป

หมายเหตุ: SA ต้องซื้อ ณ Day 1 เท่านั้น หากต้องการใช้ SA ไม่สามารถซื้อ Add-on กับ Volume License เก่าที่มีอยู่แล้วได้

โดยปกติแล้วส่วนมาก End-user จะเจอ License SPLA เวลาพิจารณาใช้ Cloud เนื่องจาก Microsoft บังคับว่าสำหรับบาง Software เช่น Windows นั้น หาก End-user ต้องการใช้บน Cloud ต้องใช้ในรูปแบบ SPLA เท่านั้น ไม่สามารถนำ Volume มาใช้ได้ ผู้อ่านอาจจะงงอ่าวมะกี้ Admin บอกว่าสามารถนำ Volume License ที่มี SA มาใช้บน Cloud ได้ไม่ใช่รึ คำตอบคือใช่ ถ้า Software ตัวนั้นมี Option ให้ซื้อ SA เช่น Microsoft SQL แต่สำหรับ Windows นั้น Microsoft ไม่มี Option ให้ซื้อ SA ครับ ก็คือเป็นการบังคับอ้อม ๆ จาก  Microsoft ว่าหากคุณจะใช้ Windows บน Cloud ต้องใช้กับ License SPLA เท่านั้น

หากยังงง ๆ กันอยู่  เราได้ทำตารางให้ด้านล่าง เพื่อความง่ายต่อความเข้าใจและเปรียบเทียบครับ

จุดคุ้มทุน

จุดคุ้มทุนระหว่าง Volume กับ SPLA โดยรวมนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30 เดือน (เฉลี่ยจากหลาย ๆ Software เช่น Microsoft SQL, Exchange etc.) กล่าวคือ ใช้ SPLA 30 เดือน (2.5 ปี) จะเท่ากับลูกค้าซื้อ License Volume พร้อม SA สำหรับ Software นั้น ๆ  เพราะฉะนั้นในเชิงความคุ้ม หากมองว่า Software ตัวนั้นจะใช้นานกว่า 2.5 ปี และไม่จำเป็นจะต้องใช้ Version ใหม่ล่าสุด Volume จะคุ้มกว่า

ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นข้อมูลคร่าว ๆ ระหว่าง License Volume และ SPLA ครับ หวังว่าชาว IT หลาย ๆ คนจะได้ไอเดียกันมากขึ้น วันนี้ขอจบลงเท่านี้หากใครมีคำถาม สามารถ Comment สอบถามได้เลยนะครับ หากเห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์ฝากกด Like และ Share ด้วยนะครับ Admin จะได้มีกำลังใจเขียนต่อ สำหรับรอบต่อไป Admin จะมาอธิบายลงลึกสำหรับ License Software ที่ Popular มากที่สุด 2 อันก็คือ Windows และ Microsoft SQL

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาดหรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รบกวนใช้วิจารณญาณในการอ่าน หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามโดยตรงได้จาก Microsoft ครับ

CategoriesWindows Server

เข้าใจ Windows Server License ง่าย ๆ จบใน 5 นาที

สวัสดีครับคุณผู้อ่าน วันนี้จะขอนำข้อมูลดีๆมาแชร์เพิ่ม ต่อจาก Blog ที่แล้วที่แนะนำเรื่อง License ในรูป Volume และ SPLA ของ Microsoft ไป วันนี้จะมาเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับ Windows License ตามที่ได้สัญญากันไว้นะครับ หลาย ๆ คนคงจะงงว่าจะต้องใช้แบบไหนดี ประเภท License ที่ Popular ของ Windows นั้นมี 2 แบบ คือ

  1. License แบบ Volume ที่เป็นการซื้อขาดมักจะเห็นใช้กันเยอะตาม Office หรือ On-premise
  2. License แบบ SPLA ที่เป็นการเช่าใช้งาน มักจะเห็นการใช้งานบ่อยบน Cloud

ก่อนที่จะมาลงรายละเอียดกัน จะขอบอกก่อนว่า Windows License ที่ใช้งานกันส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยกัน 3 Edition (ต่างกันที่ Feature) คือ

  1. Windows Server Datacenter เป็น License ที่ใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มี Data Center
  2. Windows Server Standard เป็น License ที่คนส่วนใหญ่นิยมใช้กับ Server ทั่วไป
  3. Windows Server Essential เป็น License ที่เหมาะกับองค์กรเล็ก ๆ ขนาดไม่เกิน 25 User มี Free CAL ให้ด้วย

เรามาเริ่มกันที่ Volume License ของ Windows นะครับ

Volume License ของ Windows นั้นแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ ส่วนที่ 1 คิดราคาตามจำนวน CPU Core ของ Server + ส่วนที่ 2 คิดตามจำนวน CAL (กล่าวคือ Microsoft คิดราคา Windows คุณโดยการดู Spec Server ของคุณและจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้งาน Server คุณ)

สำหรับ ส่วนที่ 1 (CPU Core) Microsoft ให้นับเป็นแบบ Physical Core หรือ Virtual Core ก็ได้แล้วแต่ที่จะเลือกใช้ เช่น Server ของคุณมี 16 Core ก็จะใช้ License แบบ Per Core License 8 License (1 License เท่ากับ 2 Cores) หาก Server ไม่ถึง 16 Core ก็ต้องซื้อ License ให้ Cover 16 Core อยู่ดี เนื่องจากเป็น Minimum ขั้นต่ำที่ Microsoft กำหนดไว้

สำหรับ ส่วนที่ 2 (CAL) คำถามต่อมา แล้ว CAL คืออะไร? CAL (Client Access License) เป็น License ที่จะทำให้มีสิทธิ์ในการเข้าใช้งาน Server ได้ จะแบ่งแยกไปได้อีก 2 แบบ ได้แก่

  1. แบบแรก User CAL ที่นับตามจำนวน User จะใช้งานจากกี่ Device ก็ได้ (คนส่วนมากมีหลาย Device ไม่ว่าจะเป็น คอม, มือถือและ Tablet) ที่เชื่อมต่อกับ Server
  2. แบบที่สอง Device CAL ซึ่งจะนับตามจำนวน Device ที่เข้าใช้งาน Server ได้

แล้วจะรู้ได้ไงว่าเราจะเลือกใช้ CAL แบบไหน? มองง่าย ๆ ดังนี้เลย

  1. ถ้า Device ที่ใช้มีมากกว่า User ให้ใช้ User CAL (ตัวอย่างเช่น User มี Laptop, Smartphone และ Tablet ที่สามารถเข้าถึง Server ได้
  2. ถ้า User มีมากกว่า Device ที่ Access ให้ใช้ Device CAL เช่น ทำงานเป็นกะ, โรงเรียน และโรงพยาบาล ใช้เครื่องเดียวกันผลัดเปลี่ยนหลายคน

Volume License จะมีข้อเสียที่ใหญ่มาก ๆ 2 ข้อ คือ

  1. นำ License ไปใช้บน Cloud ไม่ได้ (แต่สำหรับ Software อื่น ๆ Microsoft อนุญาตให้นำ License Volume ไปใช้บน Cloud เช่น Microsoft SQL โดยเงื่อนไข สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ Blog ถัดไป)
  2. จำเป็นต้องซื้อ CAL เพิ่มในทุกกรณี

เทคนิคการประหยัดเงิน (ที่ถูกต้อง) และตัวอย่างการคำนวน License

ชาว IT คนไหนหาทาง Save Cost อยู่ เชิญอ่านตรงนี้

ราคา License Windows แบบ Volume (ณ ปี 2019)

  • Windows Server 2019 Standard ราคา 3,900 บาท ที่ 1 License / 2 Cores โดยต้องซื้อขั้นต่ำ 16 Cores
  • Windows Server 2019 Datacenter ราคา 213,786 บาท ที่ 1 License / 16 Cores
  • User CAL 1,300 บาท
  • Device CAL 1,100 บาท

อ้างอิงจาก : https://www.2beshop.com/Microsoft-Windows-Server.html และ https://www.quickserv.co.th/software/MICROSOFT/Windows-Server-2019/Windows-Server-Datacenter-2019.html

ยกตัวอย่างระบบ Physical Server

มี Physical Server ที่เป็น Windows Standard อยู่ 1 เครื่อง Spec 8 CPU Core มี User ใช้งาน 5 คน เข้าใช้งานผ่าน PC 2 เครื่อง แบบนี้จะใช้ Core License ทั้งหมด 8 License (1 License / 2 Cores อย่าลืมว่าขั้นต่ำต้องซื้อ 8 License หรือ 16 Cores) + Windows Device CAL 2 Licenses เพราะว่า User มีมากกว่า Device ค่าใช้จ่ายของคุณก็จะตกอยู่ที่ 31,200 + (1,100 x 2) = 33,400 บาท

ยกตัวอย่างระบบ Virtualize (VMware, Hyper-V)

ทีม IT ต้องการ Implement ระบบ Virtualize มาใช้งาน โดย Guest บนระบบดังกล่าวจะใช้เป็น Windows ทั้งหมด 100 Guests (4 Core / Guest รวมเป็น 400 Virtual Cores) ระบบมี Physical Host ขนาด 16 Cores จำนวน 2 Host รูปแบบ License ที่จะประหยัดสูงสุดคือ Windows Server 2019 Datacenter จำนวน 2 License (1 License / 16 Cores)

ถ้าคำนวณดูเราจะเสียค่า License ทั้งหมด 427,572 บาท แต่หากคิดเป็นต่อ Guest แล้วจะอยู่ที่แค่ 4,276 บาท / Guest ถูกกว่าตัวอย่าง Physical Server (31,200 บาท) ตัวอย่างแรกทางด้านบนมาก พูดง่าย ๆ คือ มีจำนวน VM ได้ไม่จำกัดแต่จ่าย License เพียง 32 Cores ซึ่งจริง ๆ แล้วตัว Datacenter นั้น ทาง Microsoft จะแนะนำให้ใช้กับระบบ Virtualize ที่ใหญ่ๆ

ถัดมาเป็น SPLA License เป็น License เช่าใช้รายเดือน หาซื้อได้จาก Cloud Service Provider หรือ Hosting เจ้าต่าง ๆ

SPLA จะแตกต่างจาก Volume อย่างสิ้นเชิง ไม่มีการคิด CAL ทำให้จุดนี้เป็นจุดเด่นของ SPLA อีกทั้งราคายังถูกกว่าแบบ Volume โดยราคา Windows Server จะอยู่ที่ประมาณ 700-1,200 บาท ต่อเดือน ต่อ Physical Server หรือ VM เท่านั้น ขอย้ำว่าไม่จำเป็นต้องซื้อ CAL เพิ่มอีก จ่ายรายเดือนครั้งเดียวแล้วจบ* และที่สำคัญอีกเรื่องของ SPLA คือลูกค้าสามารถ Upgrade หรือ Downgrade Version Windows ได้ตลอด หาก Version ใหม่ออกมาแล้ว เช่น อย่างตอนนี้ถ้าผมใช้ Windows Server 2016 อยู่ก็สามารถ Upgrade เป็น Version ใหม่ที่สุด ซึ่งตอนนี้คือ Windows Server 2019 ได้เลย โดยค่าใช้จ่ายเหมือนเดิม ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โดยการใช้งาน License Windows SPLA นั้นมักจะเจอบ่อยเวลาใช้ Cloud ซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งผลพลอยได้อีกอย่างหนึ่งสำหรับการใช้ Cloud

ทั้งนี้ ถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ ผู้เขียนจะสรุปให้สั้น ๆ ดังนี้นะครับว่า

Windows Version ไหนเหมาะกับใคร

Windows Standard เหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป ใช้ได้ทั้ง Server และ Cloud

Windows Datacenter เหมาะสำหรับรองรับการใช้งาน VM จำนวนมาก ๆ เช่น บริษัทที่มีระบบ Virtualize

Windows Essential เหมาะกับ User ไม่เกิน 25 User หรือ 50 Devices มี CAL ให้ฟรี เช่น บริษัทขนาดเล็กหรือกลาง

สรุปข้อแตกต่างระหว่าง Windows แบบ Volume และ SPLA

 

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ หวังว่าทุกคนที่สนใจอาจจะได้ไอเดียกันบ้างนะครับ ถ้าใครมีคำถามสามารถ Comment ได้เลยนะครับ Blog ถัดไปผู้เขียนจะแนะนำเรื่องการเลือกใช้งาน SQL License ครับ หากใครมีคำถามสามารถ Comment ได้ที่ด้านล่างเลยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้มี Blog ดี ๆ คุณภาพคับแก้วให้ทุกท่านได้อ่านกันต่อนะครับ นอกจากนี้ใครสนใจคำนวณค่าใช้จ่ายในการใช้งาน Windows Server Standard ทาง Cloud HM ได้มีการทำเครื่องมือช่วยไว้คร่าวๆ สามารถกดเข้าไปลองดูกันได้ครับ

ขอบคุณครับ

หมายเหตุ : Blog นี้เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัว อาจมีข้อผิดพลาดหรือการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม รบกวนใช้วิจารณญาณในการอ่าน หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามโดยตรงได้จาก Microsoft ครับ

Blog อื่น ๆ